เรื่อง Rod .. How to ว่าด้วยเรื่องคันเบ็ดล้วนๆ ตอนที่ 2


หลังจากที่เราทำความรู้จักเรื่องแบลงค์ในตอนที่ 1 ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ผู้เขียนพยายามจะโยงให้คนซื้อรู้จัก ถึงอุปกรณ์การสร้างคันเบ็ด เพื่อเป็นแนวทาง ความรู้ในการเลือกซื้อคันเบ็ดอีกด้วย

เพราะเหตุใดจึงเชื่อมเรื่องเข้าไปในจุดนี้ เหตุผลคือ นักตกปลาหลายท่านพยายามอ่านหนังสือตกปลา ทำความเข้าใจและหาความรู้กับอุปกรณ์ต่างๆ
สุดท้ายเมื่อไปยืนอยู่ในร้านขายอุปกรณ์กลับ ลืมสิ่งที่รู้สิ่งที่อ่านไปหมดสิ้นว่า อุปกรณ์ที่คุ้มค่า พอเพียงกับความต้องการ เทียบกับเงินในกระเป๋าของเรานั้น มีสิ่งใดบ้างที่เราอยากได้002

ไม่ว่าจะเป็นแอ็คชั่นของคันเบ็ด การดูกระดูกคัน ชนิดของไกค์ การเคลือบ วัสุดที่นำมาประกอบ เพราะบางครั้งเรารู้เราเห็นก็แต่ในตำรา หนังสือ ก็เท่านั้น
แต่ก็มีนักตกปลาอีกหลายท่านไม่ได้อยากรู้เลยว่า คันแอ็คชั่น เท่านี้เหมาะกับสายกี่ปอนด์ ไกค์ที่ชื่อว่า ซิลิคอน มีความจำเป็นเท่าใด และด้ามก็อกที่ยาวออกมา มันเป็นก๊อกแท้ หรือเป็นด้ามยางที่ เอาสติกเกอร์ลายก๊อกมาเคลือบไว้เฉยๆ

จุดประสงค์ที่ต้องการเลือกซื้อคันเบ็ดของใครหลายคนก็คือ ขอแค่ มีคันเบ็ดราคาไม่แพง  แบลงค์เหนียวๆ ด้ามจับพอดีก็พอแล้ว คงจะหาได้ไม่ยากนัก ก็แค่เรื่องเลือกซื้อคันเบ็ดตามแท่นโชว์ มันร้อยสายไปตกปลาได้ก็พอแล้ว

ส่วนบางท่านที่มีความรู้ ความสามารถในเรื่องนี้ดีอยู่แล้ว ก็จะแทบไม่มีปัญหา แต่อย่าลืมครับว่า ไม่มีใครรู้เรื่องพวกนี้มาตั้งแต่ต้น ทุกอย่างต้องมีการศึกษาค้นคว้า ใครยังไม่ทราบก็ต้องอ่าน และพอทราบครับว่า บางท่านเป็นช่างบิวท์อยู่ในขั้นเทพแล้ว แต่บางท่านก็ตกม้าตายในวงสนทนาหรือบิวท์คันออกมาได้ไม่คุ้มราคา

แต่ผมเชื่อว่า หากคุณชอบตกปลา และยังคงตกต่อไป วันหนึ่งที่คุณกลับมามองคันเบ็ดที่เคยเลือกซื้อเอาไว้ครั้งแรก จะต้องอมยิ้ม กับการเลือกใช้ เลือกซื้อคันเบ็ดของตัวเองในเวลานั้น

มีการได้ลองตั้งข้อสังเกตุเรื่องนี้ไปที่คนใกล้ตัว รวมทั้งเจ้าของร้านขายอุปกรณ์ตกปลาหลายที่ โดยหัวข้อที่คุยกันคือ คนที่สนใจจะบิวท์คัน จะรู้เรื่องอุปกรณ์ประกอบคันดีกว่าคนไม่สนใจ เป็นไปได้หรือไม่
ส่วนใหญ่ก็ต้องตอบว่าเป็นไปได้สูงมาก และนี่นี่คือการสุ่มตัวอย่างจาก ร้านตกปลาทั่วประเทศนะครับ  ขอบคุณร้านค้าที่ให้ข้อมูลนำงานชิ้นนี้เป็นงานตีพิมพ์ลงหนังสือตกปลา

006ส่วนประโยชน์ที่ได้รับต่อมาก็คือ เราจะมีความรู้และมีตรรกะ ในการเลือกซื้ออุปกรณ์มากขึ้น ไม่ใช่เข้าไปโดนหลอก ขายคันบิวท์มือสองมา เพราะใครหลายต่อหลายคนโดนกันมาเยอะแล้ว  เมื่อโดนคนหลอกขายบอกว่า ไกค์เป็นรุ่นนั้น แบลงค์เป็นของตัวนี้ ซึ่งหลายท่านมันไม่มีความรู้อยู่แล้ว พอจะเถียงก็กลัวจะโดนคนที่เสียงดังกว่าหาว่าโง่

มีตัวอย่างหนึ่ง เป็นคนรู้จักบอกจะไปดูคันเบ็ดตกปลาเฉยๆ ยังไม่ซื้อ สุดท้ายก็แบกคันเบ็ดบิสเคน ความจริงแล้วเป็น แบลงค์ จีน ใส่ไกค์อัลโคไนท์ ในราคาคันละ 12,000 บาทมาให้ผมดู ซึ่งเมื่อเห็นแล้วเราจะไม่เสียมารยาทบอกว่า มันปลอมทั้งไกค์และแบลงค์ ก็เป็นบอกให้เอาคันเบ็ดไปคืนและขอรับเงินสด 12,000 คืนจะดีกว่า

แต่เมื่ออ้อยเข้าปากช้างแล้วส่วนคนขายก็อ้างไปตามเรื่องว่า เจ้าของคันตัวจริง รับเงินแล้วหายตัวไป แย่จริงๆ มาหลอกกันได้
ซึ่งจริงๆ ก็มันนั่นแหละที่เป็นเจ้าของ คราวหลังยังรู้ว่า ยังมีการทำอย่างนี้อีกหลายครั้งกับนักตกปลาท่านอื่น เมื่อคนโดนหลอกไปพบเจอหน้า ก็พยายามหลบทุกครั้ง และสุดท้ายเพื่อนผมที่หน้าบางมากกว่าก็บอกว่า ช่างมันเถอะ นึกว่าเสียรู้ พูดไปก็อายเค้า เพราะคนไทยเป็นอย่างนี้แหละครับ คนที่จ้องเอาเปรียบคนอื่นถึงหากินอยู่ในสังคมได้แบบสบายใจ

แต่ถ้าเราพอมีความรู้บ้าง ก็จะทำให้การซื้อของครั้งต่อไป ไม่ยากเลย เช่น เราเห็นแล้วว่า คันเบ็ดสำเร็จรูปคันนี้มี ติดกระดาษบอกว่าไกค์เป็นของฟูจิรุ่น  A หรือ B ก็ว่าไป ยกขึ้นมาส่องดูเลยครับว่า มันมีลักษณะแบบไหน เวทแบลงค์ที่เขียนบอกว่าเป็น 12-20 นั้น เป็นเวทตามที่ต้องการหรือไม่ เพราะหลายคัน สเป็คที่พิมพ์ไว้ตรงโคนคัน แต่เวลาเราลองดึงแอ็คชั่นดูแล้วมันไม่ใช่ ก็จะกลายเป็นเวทอื่นและแอ็คชั่นออกที่ กลางคันหรือโคนคันแทน

มาดูเรื่องไกค์ของฟูจิ ราคาและเกรดของไกค์เรียงกันตามอะไรบ้าง เอาแบบที่มีขายจะไม่เจาะข้อมูลลงให้ลึก เริ่มจาก

  1. อลูมีเนียมออกไซค์
  2. อลูมีเนียมไนไตรท์004
  3. ซิลิคอนไนไตรท์
  4. อัลโคไนท์
  5. ไททาเนี่ยม ออกไซค์ (สารเคลือบผิว)
  6. ซิลิคอนคาไบน์
  7. Gold crmep

ไกค์ที่แนะนำสำหรับมือบิวท์และท่านใดที่อยากได้วัสดุที่มีคุณภาพ แนะนำ ไกค์อัลโคไนท์ และไกค์ซิลิคอนคาไบท์

ตอนนี้ ยี่ห้อที่ครองใจนักตกปลาเกือบทั้งหมดต้องยอมรับว่า ฟูจิ มาแรงจริงๆ แต่ก็ยัง มีทั้งไกค์ยี่ห้ออื่นที่ถูกนำมาประกอบอยู่ในคันเบ็ดสำเร็จรูป คันบิวท์อีกมากมายอีกมากมาย อย่างเช่นยี่ห้อ ALPS , TACKLE PLUS คุณภาพใช้ได้สมตามราคาครับ

แล้วถ้าไกค์พวกนี้มีคุณสมบัติอะไรบ้างที่เราควรจะนำมาพิจารณาในการเลือกซื้อ ว่ากันตามนี้ครับ

  1. น้ำหนัก
  2. ความลื่นในวงไกค์
  3. การถ่ายเทความร้อน
  4. ดีไซน์ของขาไกค์

มาถึงเรื่องกระดูกคันที่ว่า จะสังเกตุได้ครับว่า ช่างและนักตกปลาบ้านเราจะให้ความสำคัญในเรื่องนี้มาก ว่าการวางกระดูกคันผิดจะทำให้คันหักได้ง่าย

แต่มีเรื่องหนึ่งที่ตั้งข้อสังเกตุมานานมากแล้วว่า แล้วเพราะอะไร คันสำเร็จ ยี่ห้อดังๆ อย่างเช่น จี ลูมิส และยี่ห้ออื่นๆ ถึงวางกระดูกคันมาไม่ตรง ทั้งๆ ที่การวางตำแหน่งให้ตรงไม่ได้เสียเวลานาน และค่าแรงก็ไม่ได้เพิ่มขึ้นมากมาย

ถ้าเป็นเรื่องคันยี่ห้อนั้นไม่ทราบเพราะคงไม่มีโอกาสได้ไปคุย แต่ถ้าเป็นเรื่องการทดสอบทางวิทยาศาตร์ของคันยี่ห้อหนึ่ง ผมเคยนำเรื่องนี้ไปปรึกษาเฮียอวนแห่งร้าน ปากน้ำฟิชชิ่ง ซึ่งได้เดินทางไปเมืองจีนเพื่อเยี่ยมชมโรงงานผลิตคันเบ็ดที่ผลิต คันเบ็ดยี่ห้อดังๆ มากมาย โดยจะให้ผลการทดสอบดังต่อไปนี้พูดแทนตัวเฮียอวน ปากน้ำฟิชชิ่ง ครับ

ที่โรงงานที่มีมาตรฐานจะมีเครื่องมือการทดสอบแอ็คชั่น เพื่อทดสอบ คุณภาพอยู่แล้ว ดังนั้น เฮียอวนจึงขอให้มีการทดสอบในเรื่องนี้โดยการ ให้นำแบลงค์ ซีอีโอ ตกปลาบึกอันเรื่องชื่อ ตัวทดสอบก่อนจะวางขาย มา 10 เส้น แล้วทดสอบดังนี้ครับ โดยจะให้เครื่องทดสอบออกแรงดึงให้แบลงค์โค้งลง จนหักไปเลยเพื่อหาค่าแท้จริง

  1. ใช้เครื่องทดสอบดึง โดยวางกระดูกคันให้ตรง ตามที่นักตกปลาต้องการ ผลปรากฏว่าทั้งหมด 5 เส้น แบลงค์หักที่ แรงดึง 35 ปอนด์ (ตัวเลขสมมติ) ทั้งหมด
  2. ใช้เครื่องทดสอบดึง โดยวางกระดูกคันเอียงไปซ้าย 1 คัน ขวา 1 คัน และสวนทางกระดูกคัน 3 คัน เหมือนคันสำเร็จรูปทั่วไป ไม่ตรงตามที่นักตกปลาต้องการ ผลปรากฏว่าทั้งหมด 5 เส้น แบลงค์หักที่ แรงดึง 35 ปอนด์ (ตัวเลขสมมติ) ทั้งหมด

ซึ่งผลการทดสอบนี้ เป็นผลการทลองและทดสอบทางวิทยาศาสตร์ มีการถ่ายรูปเป็นหลักฐานและใช้วิศวกร ที่เรียนหนังสือ จบปริญญาและ ใช้เครื่องมือที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน มาทดสอบ ซึ่ง หักที่แรงดึงเท่ากัน ไม่ว่าจะวางกระดูกคันไว้ที่ตำแหน่งใด

เรื่องนี้ เฮียอวน และผู้เขียนจะไม่ให้ข้อสรุปว่าจะต้องวางตำแหน่งกระดูกคันอย่างไรผิดหรือถูก ถึงจะหาข้อสรุปไป ก็คงไม่สามารถทำลาย ความเชื่อ ของนักตกปลาบ้านเราได้ แต่ก็มีข้อดีในเรื่องนี้เพราะ ช่างบิวท์บ้านเราได้งานเยอะขึ้น จำพวกงานที่ตรงตามความต้องการของลูกค้าที่มีความต้องการเรื่องการวางกระดูกคันให้ตรงแนวดังกล่าว

มันมีหนึ่งตัวอย่างที่ผมเห็นแล้วว่า น่าจะมาเล่าให้ฟังคือ ตอนผมเดินทางไปที่พม่า มีนักตกปลาสิงคโปร์ท่านหนึ่ง หยิบคันเบ็ด จิ๊กกิ้งบลูโรส สปินนิ่ง พีอี 2 มาประกอบกับรอกสปินนิ่งซอลติก้า 3500 แต่พอหยิบมากลายเป็นคันเบทคาสติ้งไปซะได้ คือหยิบผิดมาจากบ้าน แต่นักตกปลาท่านนี้ ไม่สนใจจับประกบกันทั้งที่ย้อนกระดูกคัน คันเบทที่อ่อนบวกกับมาเจอเยลโล่ฟินทูน่า จากที่คนบนเรือคิดว่าไม่น่าจะอยู่จบทริป แต่ก็ไม่มีปัญหา  คันนั้นเย่อปลาได้ ไม่หัก และทริปนั้นผ่านลงไปด้วยดี

978

และอีกเรื่อง ลองดูภาพ ในรูปครับ จะเป็นการวางไกค์อยู่ข้างบนและวนใกล้ลงมาด้านล่าง จากลักษณะนี้ จะวางกระดูกคันออกมาให้อยู่ในแนวใด ลองถามคำถามนี้กับช่างบิวท์ระดับเทพ หรือลองคิดหาคำตอบดูครับ แล้วผมจะตามมาเฉลยให้

เรื่องราวเกี่ยวกับคันเบ็ดนั้นยังมีอีกมากมาย  เรื่องที่ยกตัวอย่างให้ เป็นแค่ไกค์นำเท่านั้นอย่างไรก็ตาม ลองทำความเข้าใจกับเรื่องราวในการประกอบคัน การเลือกวัสดุที่จะนำมาประกอบคันและนำมาเลือกซื้อคันเบ็ด ในครั้งต่อไปดูครับ

  • กริป โพร์กริปและรีลซีท

ข้อดีที่สุดของการสร้างคันเบ็ดด้วยตนเองน่าจะอยู่ที่การที่เราสามารถออกแบบและทำกริป โฟร์กริปและรีลซีทตามแบบที่เหมาะกับการใช้งานของเราที่สุด หากไปเดินดูตามร้านขายคันเบ็ดคุณก็จะเห็นรูปลักษณะหลากหลายรูปแบบสำหรับการตกปลาแต่ละชนิด010

ไม่มีเหตุอะไรที่จะทำให้คุณไม่สามารถทำอะไรที่แตกต่างจากสิ่งที่คุณเห็นมาหากว่าคุณมีความต้องการรูปแบบที่คุณหาไม่ได้ในคันเบ็ดแบบมารตฐาน อย่างน้อยที่สุดคุณก็อาจจะอยากทำให้ด้ามจับมีความยาวหรือขนาดที่เหมาะกับตัวคุณเอง

จริงๆ แล้วแทบจะเรียกได้ว่าไม่มีวิธีการที่ผิดในการทำด้ามคันเบ็ด ความยาวของด้ามคันเบ็ดมีความสำคัญในแง่ของการใช้งานที่สะดวกขึ้น คุณอาจจะต้องการด้ามที่ยาวขึ้นสำหรับการเหวี่ยงสองมือหรือคุณอาจจะต้องเสียบคันเบ็ดลงในที่ปักคันเบ็ดที่มีรูไม่ใหญ่นัก

ลองถามคำถามเหล่านี้กับตัวเองดูก่อนที่จะตัดสินใจเรื่องความยาวและขนาดเส้นผ่าศูนย์ของด้าม สำหรับการตกปลาน้ำจืดส่วนมาก ด้ามคันเบ็ดอาจจะสั้นหน่อยเพราะว่าการเหวี่ยงหรือการสู้ปลานั้นมือที่ใช้ก็มักจะมีจุดศูนย์กลางอยู่ที่รีลซีท

สำหรับการตกปลาน้ำจืดขนาดใหญ่หรือปลาทะเล ด้ามที่ยาวขึ้นก็จะทำให้นักตกปลาสามารถถ่ายแรงงัดสู้กับปลาโดยการพาดด้ามคันเบ็ดกับต้นแขนหรือข้อศอกเพื่อเป็นการลดแรงที่ข้อมือ การใช้เวลาทดสอบและคิดจะช่วยให้คุณสามารถกำหนดขนาดและความยาวที่เหมาะสมที่สุดได้ก่อนจะเริ่มการสร้างจริง

โฟร์กริปก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน สำหรับคันสปินขนาดเล็ก โฟร์กริปแทบจะไม่ได้เข้ามามีส่วนเลยเพราะมือที่ใช้สู้ปลามักจะอยู่ที่บริเวณรีลซีท สำหรับคันเบ็ดที่ใหญ่ขึ้นทั้งในแบบสปินและเบท

011การสู้กับปลาขนาดใหญ่อาจจะทำให้ต้องวางมือบนโฟร์กริปที่มีขนาดยาวขึ้น สำหรับคันทะเลบางประเภทเช่นพวก stand-up rods ซึ่งเป็นคันสำหรับยืนสู้กับปลาโดยอาศัยกำลังจากร่างกายในการอัดปลา โฟร์กริปอาจจะยาวเป็นพิเศษและบางครั้งก็อาจจะยาวกว่าด้ามคันเบ็ดด้วยซ้ำไป

ลองเลือกดูจากคันเบ็ดต่างๆ เมื่อพบคันที่คุณพอใจหรือคิดว่าใกล้เคียงกับสิ่งที่คุณต้องการ ลองถามตัวเองดูว่าคุณชอบหรือไม่ชอบส่วนต่างๆ ของคันเบ็ดตัวอย่างยังไง จากนั้นก็เริ่มออกแบบและกำหนดความยาวที่คุณต้องการ

ลำดับต่อมาก็คือการเลือกใช้วัสดุ ไม้ก๊อกเป็นวัสดุยอดนิยมมานมนานเนื่องจากมีน้ำหนักเบาและทนทานพอสมควร หากไม่ต้องการใช้ไม้ก๊อกคุณก็สามารถเลือกใช้วัสดุสังเคราะห์

ปัจจุบันก็มีหลากหลายชนิดและระดับคุณภาพ ขอแนะนำว่ายิ่งวัสดุที่คุณเลือกมาใช้ทำด้ามคันมีความนิ่มและหยุ่นตัวมากเท่าไร คุณก็จะเบื่อมันเร็วขึ้นเท่านั้น วิธีหนึ่งในการเลือกวัสดุที่เป็นยางมาทำด้ามคันเบ็ดก็คือการเอาเล็บจิกไปที่เนื้อยางแล้วดูว่ามันใช้เวลานานเท่าไรในการคืนตัวสู่สภาพเดิม ยิ่งมันสามารถคืนตัวได้เร็วก็ยิ่งดี

  • ไกด์  GUIDE

หน้าที่หลักของไกด์ก็คือการควบคุมการสายเบ็ดในระหว่างการเหวี่ยงและสู้ปลา การเลือกไกด์ควรจะเน้นเลือกชนิดที่เหมาะสมกับประเภทงานและมีน้ำหนักเบาที่สุด007

ขาไกด์ ชนิดของขาไกด์ที่คุณเลือกจะต้องเหมาะกับงานที่ใช้และเลือกที่มีน้ำหนักเบาที่สุดถ้าเป็นไปได้ บางคนอาจจะมีความฝังใจว่าขาไกด์บางชนิดจะเหมาะกับคันเบ็ดชนิดใดชนิดหนึ่งเท่านั้น เช่น ไกด์ที่มีขาเตี้ยมักจะถูกมองว่าเป็นไกด์สำหรับคันเบทและไกด์ขาสูงนั้นเหมาะสำหรับคันสปิน ขึ้นอยู่กับความต้องการของคุณเอง

บางที่คุณอาจจะพบว่าไกด์ขาสูงอาจจะเหมาะกับคันเบทบางประเภท หรือไกด์ขาเตี้ยก็อาจจะดีสำหรับส่วนปลายของคันสปินของคุณก็เป็นได้

วัสดุวงไกด์ ปัจจุบันมีวัสดุหลักอยู่สองประเภทสำหรับวงไกด์ หนึ่งก็คือเซรามิคและอีกหนึ่งก็คือวัสดุประเภทโลหะทั้งหลาย

มารู้จักเรื่องกระดูกคันกันหน่อย
สำหรับคนที่ยังไม่เคยสร้างคันเบ็ดเอง คำว่า กระดูกคัน อาจจะเป็นคำใหม่ที่เพิ่งเคยได้ยิน นักสร้างคันมือเก่าบางคนก็ยังอาจจะไม่เข้าใจความหมายของกระดูกคันอย่างลึกซึ้ง

คำจำกัดความง่ายๆ ของกระดูกคันก็คือ แกนด้านใดด้านหนึ่งของแบลงค์ที่มีแรงต้านต่อการงอตัวน้อยที่สุด นักสร้างคันส่วนมากจะบอกว่ากระดูกคันคือด้านนอกของส่วนโค้งของแบลงค์เมื่อแบลงค์นั้นถูกดัดให้โค้ง ณ จุดที่มีแรงต้านน้อยที่สุด

เราจะหากระดูกคันได้อย่างไร วิธีง่ายๆ ก็คือหาพื้นที่เรียบและแข็งจากนั้นก็วางด้านโคนของแบลงค์ลงบนพื้นนั้น มือหนึ่งกดที่ส่วนกลางของแบลงค์ด้วยน้ำหนักที่พอจะทำให้แบลงค์โค้งตัวลง อีกมือหนึ่งประคองที่ปลายสุดของแบลงค์โดยที่แบลงค์สามารถจะหมุนตัวไปมาได้ เมื่อแบลงค์หมุนตัวจนมาหยุดที่จุดๆ หนึ่ง ให้ทำเครื่องหมายไว้ที่ด้านตรงข้ามเพื่อกำหนดแนวกระดูกคัน

เป็นที่เข้าใจกันว่าหากต้องการคันเบ็ดที่มั่นคงไม่บิดตัว ก็ควรจะวางตำแหน่งไกด์ในลักษณะที่แนวกระดูกคันอยู่ด้านบนและด้านที่มีแรงต้านน้อยที่สุดหันไปหาปลา สำหรับคันเบท ไกด์ก็จะอยู่บนกระดูกคันในขณะที่คันสปินและคันฟลายจะวางไกด์ไว้ที่ด้านตรงข้าม

– อ่านต่อฉบับหน้า –

Credit : Tui A.D