เรื่อง Shock Leader ความสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม
เมื่อต้นปี 59 ก่อนหน้านี้ ผมไปออกทริปทะเลจิ๊กกิ้งที่พม่ามา ขากลับนั้นผมต้องไปลงทริปต่อที่จังหวัด ตรัง ต่อทันที เพื่อไม่ให้ต้องเสียเวลาในการล้างรอกตกปลาและจัดเตรียมอุปกรณืตกปลาใหม่ ผมเลยนำชุดอุปกรณ์ตกปลาดังกล่าวไปใช้งานต่อเลย เมื่อกลับมาอีกทริปนั้น ก็มีทริปต้องไปเทสอุปกรณ์ลองเหยื่อปะทะกำลังกับปลาบึกกันที่ บึงสำราญ กรุงเทพอีก ไหนๆแล้ว รอกก็ยังไม่ได้ล้างเสียที ผมเลยนำรอกที่ไปออกทริปจิ๊กกิ้งติดเข้าบึงสำราญไปด้วย โดยยังมีสาย ชอร์ค ลีดเดอร์ Shock Leader เข้าเงื่อนอยู่ประมาณ 5 เมตร ติดมาด้วย การประลองกำลังกับปลาบึก 2-3 ตัวแรกนั้น เรื่องเทสอุปกรณ์ยังคงเป็นไปตามขั้นตอน ไม่นานผมจึงขอตัวมาเดินเล่นชมบรรยากาศ และทักทายเพื่อนนักตกปลา ที่บริเวณแพกลางเมื่อเดินกลับมา เพื่อนร่วมทริป ( มือใหม่ )ได้บอกว่า ปลาลากสายขาดไปเรียบร้อยแล้ว ผมจึงชี้ไปที่กล่องอุปกรณ์ให้เพื่อนจัดการผูกชุดสายหน้ากันเอง และบังเอิญผมต้องเข้าไปคุยธุระกับ ช่างวิทย์ ที่ดูแลเรื่องล้างรอกใน 7 ซี โปรช็อป ไม่นานเพื่อนร่วมทริป ได้โทรมาบอกว่าให้ซื้อตะกร้อเข้ามาด้วย เพราะจะหมดแล้ว เมื่อยังคุยติดพันและคิดว่ามีตะกร้ออยู่อีกหลายลูก ผมจึงคุยต่อไป จนในที่สุดเพื่อนร่วมทริปก็ต้องออกมาซื้อตะกร้อที่ร้าน ธุระเสร็จสิ้น ด้วยความสงสัยผมจึงเข้าไปดูว่าเกิดอะไรขึ้น อุปกรณืปลายสายจึงหมดไปอย่างรวดเร็วเช่นนี้ จึงทราบจากเพื่อนว่า มีปลาใหญ่เข้ามากิน และ วัดขาดเกือบทุกครั้ง และไม่นานปลาเข้ามากินเหยื่อที่ลงไปอีกครั้งและเหตุการณ์ก็เป็นเช่นเดิม คือขาดอีกแล้ว เมื่อผมเก็บสายเข้ามาดุจึงพบว่าหนึ่งในสาเหตุนั้นคือ การขาดอุปกรณ์ปลายสายที่ชื่อว่า สายชอร์คลีดเดอร์ Shock Leader สายชอร์คลีดเดอร์ ในบ้านเราหลายปีมานี้ เข้ามามีบทบาทเป็นอย่างมากในวงการตกปลา และเป็นศัพท์ที่ใช้กันบ่อยขึ้น ซึ่งสายชอร์คเดอร์ Shock Leader ตัวที่ว่านี้ ก็เดินทางตามเข้ามาสู่ตลาดสายถัก ที่มีแรงดึงสูงไม่นานนัก
ผมขอยกตัวอย่างเหตุการที่บึงสำราญก่อนว่า เพราะเหตุใด สายที่ไม่มีชอร์คลีด จึงมีการขาดไปหลายต่อหลายครั้ง ในรอกนั้นมีสายถักที่ใช้ ( PE 8 ) ด้วยคุณสมบัติอย่างที่ทราบกันดีว่าไม่มีการยืดตัวทำให้การเซ็ทฮุคหหรือ ใส่สายได้มากขึ้นอะไรก็ตามแต่นั้น ได้มาประกอบกับคัน จิ๊ก ( PE 8 ) เมื่อมีการเซ็ทฮุคอย่างแรงกระทำไปที่ การสวนแรง กับปลาบึกที่อยู่ใต้น้ำที่ว่ายออกไป เมื่อไม่มีสิ่งที่มาทำให้มีการยืดตัวลดการกระชากอย่างรุนแรง นี่เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้สายถึงขาดไปอย่างที่กล่าวมา ถ้าเป็นการตกปลาประเภทอื่น ชุดอุปกรณ์ที่เล็กลง กับปลาที่มีขนาดเล็ก สายชอร์ค ลีด ก็มีความสำคัญในหน้าที่อื่นเพิ่มเติม เช่น ลดการเสียดสีของปลาฟันคมทั้งหลาย ส่วนจะใช้สายแรงดึงเท่าไร ความยาวและเป็นสายประเภทไหนนั้น มีโอกาสจะว่ากันในบทความต่อไป แล้วทีนี้ สายชอร์คลีดเดอร์คือสายอะไรกันแน่ ถึงมีความสำคัญขนาดนี้ ทำไมบางยี่ห้อมีราคา เมตรละเป็นสิบบาท มันต่างกับสายเอ็นก่อสร้างตราระฆัง ตราเรือใบ และสายชอร์คธรรมดาอย่างไร ผมขอใช้ศัพท์ง่ายที่สุด มันก็คือ สายเอ็นธรรมดานั่นเอง สิ่งที่แตกต่างอยู่ที่คุณสมบัติ
1.อัตราการยืดตัวของสาย
เมื่อนำไปใช้งานนั้นสายที่ดีจะรับแรงกระชากได้ดี สายจะยืดหยุ่นออกไป และดึงตัวกลับได้เป็นอย่างรวดเร็ว ตรงจุดนี้ถ้าจะเห็นผลที่สุดก็ต่อเมื่อ มีการนำไปจิ๊กกิ้ง หรือปลากินในระยะประชิดใกล้ผิวน้ำ
2. การคลายตัวของสายออกจากโรลสาย
จะสังเกตุได้ว่าสายถูกๆ บางยี่ห้อนั้นไม่สามารถทำได้ เมื่อนำออกมาใช้จึงมีอาการขดตัวป็นวงกลมเหมือนขดสปริงอยู่อย่างนั้น และเมื่อนำสายบางตัวที่มีคุณภาพสูงมาใช้ อาการดังกล่าวจึงไม่เกิดขึ้น
3 การเคลือบสายเพื่อเพิ่มความทนทาน
แน่นอนว่าสิ่งที่เราต้องการนั้น ก็คงต้องเป็นสิ่งเหล่านี้ ส่วนจะมีการเคลือบสารอะไรเพิ่มมาบ้าง คุณสมบัติ ตามแต่สายยี่ห้อต่างๆยกขึ้นมาเป็นจุดขายกันได้ แต่ละยี่ห้อ ต่างมีดีมีเด่นกันคนละอย่างแล้วแต่ความชอบของผู้ใช้
4 ความนิ่มหรือความแข็งของสาย
สายที่นิ่มกว่านั้นจะทำให้การเข้าเงื่อนทำได้ดีและเป็นระเบียบมากกว่า สายที่ดีนั้น ไม่จำเป็นต้องถูกเลือกใช้โดยมีสิ่งเหล่านี้มาเป็นข้อจำกัด แต่ความเหมาะสมในการเลือกใช้งานก็คือ ขนาดหน้าตัดที่มีความเหมาะสมกับสายถักในรอก เงื่อนที่นำมาใช้ และการเก็บสายเมื่อเข้าเงื่อนเสร็จ
“สาย สายชอร์คลีเดอร์ Shock Leader นี้มีให้เลือกเป็น พันชนิดนะครับในรูปแบบต่างกันไป ใส่สารนั้นลงไป เคลือบนั่นให้อีก จนผมไม่กล้าจะล้วงลูกให้ลึกกว่า นี้ แต่ถ้าถามผม ต้องเป็น BERZERK ครับ”
BERZERK Shock Leader
Lb-Test (ปอนด์) | Colour สี |
Dia.(mm) เส้นผ่าศูนย์กลาง (มม) |
ความยาว หลา |
ราคาสุทธิ บาท |
20 | Clear | 0.35 | 100 | 100 |
30 | Clear | 0.50 | 100 | 100 |
40 | Clear | 0.55 | 100 | 100 |
50 | Clear | 0.60 | 100 | 100 |
60 | Clear | 0.70 | 100 | 100 |
80 | Clear | 0.80 | 50 | 100 |
100 | Clear | 0.90 | 50 | 100 |
120 | Clear | 1.00 | 50 | 100 |
“และเรื่องดังกล่าวนี้ผมได้ให้เพื่อนในวงสนทนาของผม มาเพิ่มสาระให้มากขึ้นเพื่อความสมบูรณ์ของบทความนี้ บางส่วนอาจมีการขัดแย้งกัน หรือซ้ำกัน นั่นก็คือสิ่งที่ผมต้องการให้เกิดขึ้นครับ”
Uncle Sharpe saying :
ก่อนที่จะลงลึกข้อมูลอื่นคงต้องมาสรุปกันเรื่องคำจำกัดความก่อน Leader ก็คือสายหน้า ไม่ว่าจะใช้สายเอ็น สายถัก ลวดถักหรือลวดสแตนเลส ล้วนก็เรียกว่าลีดเดอร์ทั้งสิ้น จุดประสงค์ของการใช้สายแต่ละชนิดก็ขึ้นอยู่กับเท็คนิควิธีการตก ปลาที่จะตกหรือหมายที่ไปตกกัน Shock Leader ก็คือสายหน้าเช่นกันแต่มีการเพิ่มคำว่า Shock เข้าไปด้วย แต่สายที่จะเอามาใช้เป็นสาย Shock Leader นี้จะเป็นสายเอ็นเท่านั้น จุดประสงค์ของการใช้สาย Shock Leader ก็เพื่อให้สามารถรับแรงกระชากได้ ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าใช้เพื่อให้สามารถรับแรงกระชากได้ ไม่ได้มีเอาไว้เพื่อกันการขีดข่วน หรือฟันปลา ฯลฯ ในอดีตเคยมีการใช้สายลวดกรอใส่รอกเอาไว้เพื่อตกปลาโดยเฉพาะการลากเหยื่อหรือการตกในแหล่งน้ำลึก สายลวดจะมีหน้าตัดเล็กกว่าสายเอ็นจึงสามารถแหวกน้ำลงไปได้โดยไม่ต้องอาศัยน้ำหนักถ่วงมากนัก สายลวดทนแรงดึงได้สูง ไม่มีการยืดตัว บางครั้งเมื่อเจอปลาใหญ่มากระชากเหยื่อเข้าก็ขาดได้เหมือนกัน สายลวดยอมหักแต่ไม่ยอมงอ ไม่ยอมยืดหยุ่นให้ ผู้ที่ตกด้วยสายลวดจึงมีการนำเอาสายเอ็นขนาดใหญ่มาต่อเข้าที่ปลายช่วงหนึ่ง จุดประสงค์ก็เพื่อที่ว่าเอ็นช่วงนี้จะยืดหัวให้ในจังหวะที่มีแรงกระชาก ในบ้านเราเมื่อสักสามสิบปีที่แล้ว ชาวประมงพื้นบ้านก็มีการลากเหยื่อตกปลาอินทรีย์ด้วยสายลวดตากผ้าเช่นกัน ที่ปลาสายลวดตากผ้าก็จะมีการผูกเอ็นขนาดใหญ่ ยาวประมาณสองสามเมตรเอาไว้ ส่วนที่ปลายสุดก็จะเป็นสายหน้าที่ทำจากลวดสแตนเลส สายเอ็นที่ถูกใช้ในลักษณะนี้ก็คือสาย Shock Leader แต่ถ้าไปถามชาวบ้าน เขาก็ไม่รู้หรอกว่าเรียกว่าอะไร แต่ภูมิปัญญาชาวบ้านทำให้เขารู้ว่าเขาต้องทำเช่นนั้น ไม่อย่างนั้นเวลาปลามาฉวยเหยื่อ บางครั้งสายลวดที่ใช้ทำสายหน้าก็ขาดได้ ** สายที่เอามาทำ Shock Leader จะเป็นสายเอ็นเท่านั้น ส่วนจะเป็นเอ็นโหลดหรือไม่โหลด เอ็นธรรมดาหรือเอ็นฟลูโอฯ อันนี้ก็แล้วแต่จะเลือกใช้กันครับ ดังนั้นถ้าถามว่าต่างจากสายเอ็นทั่วไปไหม ก็คงต้องตอบว่าไม่ อาจจะเหมือนกับเสื้อเชิร์ทตัวหนึ่ง เวลาใส่ไปทำงานเราก็เรียกว่าเสื้อทำงานแต่เวลาใส่ไปเที่ยวเราก็อาจจะเรียกว่าเสื้อใส่เที่ยวได้เช่นกัน |
หากเป็นเรื่องที่ว่ากันถึงสายดังกล่าว จะเอาข้อมูลกันจริงๆ เขียนไปทั้งเล่ม ออกมา 5 ฉบับก็ยังไม่หมด อาจจะไม่ได้ลงลึกในบางจุด เพราะคอลัมน์จำกัดพอควร รวมทั้งผมและเพื่อนร่วมวงสนทนาพยายามไม่ได้ใช้ศัพท์ทางวิชาการทางต่างประเทศให้มาก และ พยายามนำเรื่องที่ใช้ใด้จริงในการตกปลาที่บ้านเรามาเขียนในงานนนี้ ก็หวังไว้ว่า เพื่อนๆคงเข้าใจความหมายและหน้าที่ ของสาย Shock Leader เพิ่มขึ้นครับ ครั้งหน้าเรามาดูอุปกรณ์และเทคนิคอื่นกันต่อครับ และหากท่านใดไม่ถนัดการเข้าเงื่อนสายถัก+สายชอร์คลีดเดอร์ ผมมีตัวเข้าเงื่อนช่วยมาให้ชมกัน
Credit : Tui A.D