เรื่อง Rod .. How to ว่าด้วยเรื่องคันเบ็ดล้วนๆ ตอนที่ 4
หลังจากเขียนถึงวิธีและเนื้อเรื่องต่างๆ ในตอนนี้เราจะมาดูว่าแบลงค์ที่เราต้องการนั้นจัดอยู่ในประเภทใด และประเทศไทย มีแบลงค์อะไรมาวางจำหน่ายกันบ้าง
แบลงค์บ้านเรานั้น ถูกนักตกปลาและร้านค้าจำแนกออกเป็น สามประเภทใหญ่ๆ ด้วยกัน และแต่ละประเภทมีเหตุผลที่จะถูกแยกออกมาค่อนข้างชัดเจน ว่าควรจะจัดอยู่ในงานใด
- แบลงค์ งานเหวี่ยงเหยื่อปลอม
- แบลงค์ ตกปลาบึก งานหน้าดินทะเล จิ๊กกิ้ง
- คันสำเร็จ ที่ถูกเลาะไกค์ออกมาเพื่อดัดแปลงทำเป็นคันสะปิ๋ว หรือคันแข่งตกปลาสวาย มีการวางชุดไกค์ให้ดีขึ้นและด้ามจับให้ถนัดขึ้น
ก่อนจะเข้าเรื่องต่อไป ก่อนอื่น ผมมีเรื่องมาแจ้งให้พี่น้องชาวไทยทุกท่านให้ทราบโดยทั่วกันว่า ก่อนที่จะหาคันเบ็ดที่ถูกใจซักคัน นอกจากดูว่า คันเบ็ดหรือแบลงค์ยี่ห้อนั้น ตัวนี้ สามารถยกตุ้มน้ำหนักได้ กี่กิโลกรัม หรือ แบลงค์ตัวนี้ เหนียวสุดๆ งัดไม่มีวันหักได้ ควรให้ความสำคัญในเรื่องอื่นด้วย
เหตุผล ที่ผมนำออกมาบอกนี้ ไม่ต้องกลัวครับว่า ผมจะโดนผู้นำเข้าหรือใครต่อว่า เพราะการที่แบลงค์เส้นไหนก็ตามยกลูกตุ้มได้หนักๆ นับได้ว่าเป็นเรื่องดี แต่ไม่ใช่ว่ามันจะเหวี่ยงเหยื่อดี มีสมดุลที่ดี มีน้ำหนักเบา มีพลังงัดปลาที่ดีตามไปด้วย และตามตำราที่บอกไว้ ควรดูตามนี้ครับ
- ก่อนจะเลือกบิวท์คัน ดูวิธีการตกปลาของคุณก่อน ว่าอยู่ในประเภทใด
- ขนาดปลาที่คุณจะตกเป็นประจำ จะเป็นตัวชี้ขนาดของแบลงค์ที่จะเลือกซื้อ
- ขนาดและชนิดของสาย ที่เลือกใช้
- น้ำหนักเหยื่อ ที่คาดหวังว่าจะใช้เป็นประจำจากแบลงค์ที่จะเลือกมาใช้งาน
- รอกที่เตรียมเลือกมาใช้ จะเหมาะสมกับแบลงค์ที่จะเลือกมาใช้งาน
- สถานที่ตกปลาที่คาดหวังว่าจะนำไปใช้งาน บนเรือคงไม่เหมาะกะคันยาว กลับกันชายฝั่งควรจะมีคันยาวมากกว่าปกติ
- เงินที่ใช้สร้างคัน ว่าสามารถประกอบคันให้อยู่ในระดับใด
- มีความรู้ทุกอย่างเกี่ยวกับแบลงค์คุณเลือกที่จะนำมาใช้ ว่าทำอะไรได้ เหมาะสมที่จะนำไปใช้งานหรือไม่
- มีความรู้ก่อนที่จะบิวท์คันว่า วัสดุที่ใช้ทำแบลงค์ มีข้อดีข้อด้อยอย่างไร แข็งแรงพอที่จะดึงปลาเข้ามาได้ไหม
จากหลายข้อที่ว่ามาจะเห็นได้ว่ามันมีเรื่องที่น่าใส่ใจมากกว่าเรื่องแบลงค์เหนียวมาก อีกมากมายไม่ใช่เรื่องที่ ว่าเห็นแบลงค์เส้นใดก็ตามแต่ยกน้ำหนักได้มาก เหนียวไม่ยอมหัก ถึงจะตัดสินใจซื้อ เพราะเรื่องยกน้ำหนักที่ว่าไว้อยู่ในแผนการตลาด ของ ห้างร้านต่างๆ ที่รู้พฤติกรรมการซื้อคัน ในความเชื่อที่เกี่ยวกับคนไทยโดยเฉพาะออกมาด้วย ในเรื่องนี้มันมีเหตุครับ เพราะเมื่อ 10 กว่าปีก่อน แผนการโฆษณา ของคันเบ็ดยี่ห้อแอล ถูกยิงผ่านสื่อว่าสามารถยกลูกตุ้ม ได้ 10 – 20 โล ภาพที่นักกล้าม ยกคันเบ็ดขึ้นงอ แต่ไม่ยอมหัก คันเบ็ดยี่ห้อแอลได้นำเทคโลโลยีชั้นสูงเข้ามา บวกกับราคาค่าตัวที่สมเหตุผล ในที่สุดการบุกตลาดมาก่อนใคร ด้วยเวลาไม่นานนัก คันเบ็ดยี่ห้อแอล ทะยานเข้าป้าย ที่ 1 เรื่องของความเหนียว ทนทรหด อย่างสบาย และเข้าไปอยู่เป็นภาพติดตาคนไทยในเรื่องความเหนียวนับจากนั้นมา เรียกได้ว่านั่นคือจุดเริ่มต้น ของการจะเลือกซื้อแบลงค์ และคันเบ็ดในเมืองไทยเรา ประเทศเดียวในโลกโดยมีคำถามก่อนซื้อว่า เบ็ดคันนี้ ยกได้กี่กิโลกรัม
คันเบ็ดที่ดีเป็นอย่างไร แบลงค์ที่เหมาะสมกับการใช้งานเป็นแบบไหน คงจะเคยอ่านผ่านตากันไปแล้ว มาว่าถึงเรื่องวัสดุ ของวงการใกล้ตัวอย่าง ไม้แบต ไม้กอส์ฟ กันดีกว่า หากถามว่า ด้วยเทคโนโลยีปัจจุบัน สามารถนำวัสดุต่างๆมาทำให้ก้านแบต และก้านไม้กอส์ฟ ไม่หักเลย ทำได้หรือไม่ ซึ่งโจทก์ข้อนี้ไม่ยากเลย แต่ไม่มีใครทำ เพราะสิ่งที่ต้องการคือ แรงสปริงเ แรงดีดมหาศาล พื่อช่วยผ่อนแรง นี่ต่างหากคือเรื่องที่ผู้ผลิตให้ความสำคัญ มาดูแบลงค์ที่มีจำหน่ายในเมืองไทยกันซึ่งแยกออกเป็น สามประเภทข้างต้น
-
แบลงค์ งานเหวี่ยงเหยื่อปลอม
ระดับราคา 1 พันบาท แบลงค์ Iwa , Basspro shop , Viva , Rain shadow , Ugly stick , Cabela ‘s , Serie one , ATC
ระดับราคา 1 พันบาทขึ้นไป แบลงค์ Ixon , Loomis, United rod , Shikari , Daiwa steez , Graphite USA , CTS , St Croix , G – loomis -
แบลงค์ ตกปลาบึก งานหน้าดินทะเล จิ๊กกิ้ง
แบลงค์ Viva , Rain shadow , Ugly stick , Cabela‘s , Serie one , Berkley , Chojin & Kokai , Kaizen , St Croix , Jigging Master , CALSTAR , CTS , Lamiglas , SEEKER , Pacific composite -
คันสำเร็จ ที่ถูกเลาะไกค์ออกมาเพื่อดัดแปลง
ในอดีตนั้น ราคาค่าตัวของแบลงค์แต่ละเส้น และอุปกรณ์บิวท์มีราคาค่อนข้างสูง เท่านั้นไม่พอ ตัวเลือกน้อยมาก จึงมีหลายท่านเลือกที่จะนำคันสำเร็จราคาถูก มาตัดคันออก เสริมไกค์ เพิ่มความแข็ง แล้วบอกว่า นั่นคือคันที่ประหยัด มีคุณภาพเทียบคันราคาแพงกว่า 4-5 เท่าตัวได้ ซึ่งนี่ก็เป็นความเชื่อที่ผิดอีกเรื่องสำหรับมือเก่าบางท่าน
แต่ถ้าถามว่าใช้งานได้หรือไม่ คันเบ็ดมันใช้ได้ แต่ไม่ดีเท่าคันสำเร็จที่ได้รับการออกแบบมาเฉพาะงาน ส่วนคันที่จะแนะนำให้บิวท์ใช้นั่นก็คือ คันตกสะปิ๋ว โดยมีการนำคันฟลาย หรือ คันตกปลาเกล็ดเล็ก มาเปลี่ยนไกค์และด้ามจับให้มีความเหมาะสมขึ้น เพราะความจริงแล้ว คันที่ออกแบบมาให้ตกสะปิ๋วแบบบ้านเรานั้นไม่มีคันที่ทำมาเฉพาะ คันเล็กๆ แต่นำไปงัดกับปลาซ่งง 6- 7 โล ปลาสวาย 3-4 โลนั้น ย่อมไม่มีอย่างแน่นอน
ส่วน ยี่ห้อแบลงค์ที่ว่าข้างบน อยากได้คุณภาพเท่าใด จ่ายเงินเท่านั้น ท่านใด อยากทราบว่าที่ไหนมีขาย โทรมาถามละกันครับ จะบอกให้หลังไมค์ ตามกติกา หลัง 6โมงเย็น
สำหรับหลายท่านที่อยากได้คันบิวท์ ลองมาดูราคากลางกันซักหน่อย ราคาอุปกรณ์นับว่าใกล้เคียงกันเกือบทุกที่ แต่ที่ต่างกันคือ ค่าแรงในการบิวท์ ซึ่งฝีมือช่างแต่ละท่านย่อมไม่เหมือนกัน ราคากลางโดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ 1000 บาท ถึง 4000 บาท แล้วแต่ว่าจะพอใจที่ใด เปรียบเทียบดูครับว่าจะลองหัดบิวท์เอง หรือจะจัดจ้างช่างใกล้บ้านดี ก็อยู่ที่ความพอใจส่วนตัวครับ
-
การวางตำแหน่งไกด์
คุณอาจจะเคยเห็นตารางที่ช่วยกำหนดตำแหน่งการวางไกด์แต่ต้องไม่ลืมว่าแบลงค์แต่ละอันมีแอ็คชั่นไม่เหมือนกัน ไกด์ที่คุณจะเลือกใช้ก็อาจจะมีขนาดต่างๆ กัน ดังนั้นจึงแนะนำว่าให้พิจารณาตารางเหล่านั้นเป็นแนวทางเท่านั้น วิธีที่ดีที่สุดก็คือการทดลองวางตำแหน่งแล้วเหวี่ยงเหยื่อดู
เป้าหมายของการวางตำแหน่งไกด์ก็คือการใช้ไกด์ให้น้อยตัวที่สุดในขณะที่ไกด์เหล่านี้จะช่วยกันถ่ายทอดแรงกดบนแบลงค์และช่วยให้สายสามารถเคลื่อนตัวผ่านไปตามโค้งของคันเบ็ดในระหว่างที่มีแรงดึงสูงสุดได้ เพื่อให้ได้คันเบ็ดที่มีประสิทธิภาพสูงสุดคุณต้องทำให้มันมีน้ำหนักน้อยที่สุด ดังนั้นการใช้ไกด์ให้น้อยตัวที่สุดจึงเป็นหนทางที่ทำให้คุณบรรลุเป้าหมายได้ การตรวจสอบว่าต้องใช้ไกด์กี่ตัวสามารถทำได้โดยการทดสอบวางตำแหน่งและทดสอบอยู่กับที่ แต่ก่อนอื่นเราควรที่จะหาตำแหน่งสำหรับไกด์ตัวแรกและตัวสุดท้ายก่อน
- คันสปินนิ่ง
ในอดีตเราจะคำนึงถึงการค่อยๆ รูดสายเอ็นลงหลังจากที่มันพุ่งตัวออกจากรอก ท้ายที่สุดสายเอ็นต้องลอดผ่านทิปทอปซึ่งมักจะมีห่วงขนาดเล็ก แนวคิดปัจจุบันคือการลดขนาดของวงไกด์ลงให้เร็วขึ้นแทนที่จะค่อยๆ ลดขนาดลงเหมือนในอดีต สิ่งที่ได้ก็คือน้ำหนักน้อยลง มีแรงต้านอากาศน้อยลงและช่วยเพิ่มระยะให้ด้วย
วิศวกรของบริษัทฟูจิ ได้พิสูจน์แล้วว่า ไกด์ขาสูงที่มีวงห่วงเล็กช่วยเพิ่มระยะในการเหวี่ยงเหยื่อขึ้น พวกเขายังได้ทดสอบทฤษฎีว่าด้วยการลดขนาดวงไกด์ลงให้เร็ว (ภายในช่วงระยะสามสี่ไกด์แรก) ให้เหลือขนาดเล็กที่สุด พวกเขาเรียกไกด์ในแนวคิดนี้ว่า “Fuji New Concept”
ในอดีตเราอาจจะใช้ขนาดไกด์ดังชุดตัวอย่างต่อไปนี้ (30 มม. 20 มม. 12 มม. 8 มม. 8 มม. 8 มม. 8 มม. และทิปทอป 8 มม.)
การหาตำแหน่งของไกด์วงเล็กที่สุดตัวแรกนั้น มีวิธีดังต่อไปนี้:
ประกอบรอกเข้ากับรีลซีทที่เราประกอบเสร็จแล้ว โปรดสังเกตุว่าแนวกึ่งกลางของสปูลจะทำมุมเชิดขึ้นสู่คันเบ็ดเล็กน้อย ให้เล็งแนวจากแนวของสปูลไปหาจุดตัดบนแบลงค์ จุดที่ได้ก็จะเป็นจุดที่คุณเริ่มวางไกด์ที่มีวงเล็กที่สุดตัวแรก (ไกด์เล็กที่สุดควรมีขนาดวงและความสูงของขาเท่ากับทิปทอป) จากจุดนี้ไปถึงปลายคันเราจะใช้ไกด์ขนาดเดียวกันนี้ทั้งหมด สำหรับวงไกด์ที่ย้อนมาทางด้ามเราจะใช้ขนาดที่ค่อยๆ ใหญ่ขึ้น โดยทั่วไปแล้วไกด์ตัวเล็กที่สุดตัวแรกมักจะเป็นไกด์ตัวที่สี่จากทางด้าม จำนวนทั้งหมดของไกด์โดยเฉลี่ยแล้วมักจะเท่ากับความยาวเป็นฟุตของแบลงค์แล้วบวกอีกหนึ่ง แต่อย่าถือเอาจำนวนนี้เป็นหลักตายตัวเพราะท้ายที่สุดแล้วการทดสอบวางตำแหน่งและทดสอบจะเป็นตัวบ่งชี้ที่ดีที่สุด
การหาตำแหน่งสำหรับไกด์ตัวแรกจากด้ามนั้น วิธีที่ดีที่สุดก็คือการทดสอบด้วยการเหวี่ยงเหยื่อ ทดสอบเหวี่ยงโดยวางตำแหน่งไกด์ตัวแรกในระยะต่างๆ เพื่อหาจุดที่คุณรู้สึกว่าเหวี่ยงได้ไกลที่สุดและให้ความรู้สึกที่ดีที่สุด
เมื่อได้ตำแหน่งของไกด์ตัวแรกจากด้ามและตำแหน่งของไกด์วงเล็กที่สุดตัวแรกแล้วก็มาถึงการกระจายตำแหน่งของไกด์ตัวอื่นๆ ให้ทดสอบโดยการร้อยสายผ่านวงไกด์และทิปทอป ที่ปลายสายผูกวัตถุมีน้ำหนักที่หนักพอที่จะถ่วงให้คันเบ็ดโค้งตัวลงมากพอสมควร สิ่งที่เราต้องทำก็คือการทดลองกระจายตำแหน่งของไกด์ทั้งหลายเพื่อให้แนวของสายโค้งตามแนวของแบลงค์โดยมีมุมหักน้อยที่สุด คุณอาจจะเพิ่มหรือลดจำนวนไกด์ในการทดสอบนี้ไปด้วย ขอให้จำไว้ว่าใช้ไกด์น้อยไปหนึ่งตัวจะดีกว่าใช้มากขึ้นอีกหนึ่งตัว
หากมีเวลาก็อยากจะแนะนำให้ทดสอบเพิ่มเติมด้วยการเหวี่ยงเหยื่ออีก จริงอยู่ที่วิธีการที่กล่าวมาดูเหมือนจะค่อนข้างเสียเวลาเมื่อเทียบกับการดูตำแหน่งจากตาราง แต่ขอให้เชื่อเถอะว่าคุณจะได้สิ่งที่ดีที่สุดและเมื่อได้ทดลองทำครั้งแรกไปแล้ว ประสพการณ์ที่ได้ก็อาจจะทำให้คุณไม่ต้องใช้เวลาในการทดสอบอย่างมากมายอีกในการสร้างคันเบ็ดคันต่อไป
- คันเบทและคันทรอลลิ่ง
ในคันแบบสปิน สายจะไม่มีโอกาสมาพาดกับคันเบ็ดแต่ในคันเบทคาสติ้งและคันทรอลลิ่งซึ่งจะวางไกด์ไว้ด้านบนของแบลงค์ ดังนั้นจึงต้องให้ความสำคัญต่อการวางตำแหน่งของไกด์เพื่อป้องกันไม่ให้สายมาพาดกับคันเบ็ดโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลาที่คันโค้งงอลงตามแรงดึง
สิ่งแรกที่ต้องทำก็คือการหาตำแหน่งสำหรับไกด์ตัวแรก การมีรอกตัวที่จะใช้กับคันเบ็ดอยู่จะช่วยทำให้การหาตำแหน่งเป็นไปได้ง่ายขึ้น ขอให้เริ่มโดยการยึดไกด์เข้ากับคันเบ็ดด้วยเทป
จำนวนไกด์โดยเฉลี่ยคือ 1 ตัวต่อความยาว 1 ฟุต เช่น คัน 6 ฟุตก็ใส่ไกด์ 6 ตัว จำนวนไกด์ที่แน่นอนอาจจะต้องมีการปรับเปลี่ยน บรรจุสายเอ็นให้เต็มรอกแล้วร้อยสายผ่านไกด์ทั้งหมดที่วางไว้โดยให้สายอยู่ชิดขอบสปูลด้านใดด้านหนึ่ง ลองหาน้ำ
หนักผูกไว้ที่ปลายสายแล้วลองยกคันเบ็ดขึ้น
จุดประสงค์ในการวางตำแหน่งไกด์ตัวแรกก็คือ เราต้องการให้สายวิ่งผ่านไกด์ตัวแรกโดยมีการเบียดเสียดกับวงไกด์น้อยที่สุด หากสายวิ่งผ่านไกด์แล้วมีมุมหักมากเกินไปเราก็ต้องขยับไกด์ให้ห่างออกไปทางปลายคันมากขึ้นแต่ถ้าขยับออกห่างมากเกินไป สายก็จะมาพาดกับคันเบ็ด เลือกหาตำแหน่งที่เหมาะสม แต่ถ้ายังมีปัญหาอยู่ก็อาจจะต้องเปลี่ยนไปใช้ไกด์ที่มีขนาดโตขึ้นหรือไกด์แบบที่มีขาสูงขึ้น
จริงอยู่ที่เราควรจะใช้ไกด์ที่เบาที่สุดและมีขนาดเล็กที่สุดเท่าที่จะหาได้แต่ก็ต้องคำนึงถึงความเหมาะสมด้วย หากจำเป็นต้องใช้ขนาดที่โตขึ้นก็ขอให้ใช้ การหาชนิดหรือขนาดของไกด์ตัวแรกนั้นไม่มีกฏตายตัว ต้องอาศัยการลองผิดลองถูกเป็นหลัก
เมื่อหาตำแหน่งที่เหมาะที่สุดสำหรับไกด์ตัวแรกแล้ว ต่อไปก็เป็นการจัดการกับไกด์ตัวที่เหลือ หลักการของการวางไกด์ก็คือ วางไกด์ในตำแหน่งที่จะเอื้อให้สายวิ่งผ่านไกด์เป็นแนวโค้งที่ลื่นไหลตามคันเบ็ดโดยไม่พาดกับคัน ในกรณีของคันเบท อาจจะจำเป็นต้องใช้ไกด์มากขึ้นอีก 1 – 2 ตัว คุณต้องเลือกเอาระหว่างการใช้ไกด์ขาเตี้ยซึ่งจะช่วยลดการบิดตัวของคันเบ็ดในขณะที่มีแรงดึง แต่คุณก็คงต้องใช้ไกด์จำนวนมากตัวขึ้น (น้ำหนักมากขึ้น)
หากคุณต้องการใช้ไกด์ให้น้อยตัว คุณก็อาจจะเลือกใช้ชนิดขาสูงซึ่งอาจจะทำให้คันเบ็ดบิดตัวเมื่อมีแรงดึงมากๆ การตัดสินใจเป็นของคุณเอง เลือกเอาทางใดทางหนึ่ง
เพื่อช่วยให้การตัดสินใจเลือกชนิดของไกด์ง่ายขึ้น นี่คือแนวทางคร่าวๆ หากเป็นคันเบ็ดสำหรับตีเหยื่อปลอมที่เวทไม่สูงนัก ไกด์ชนิดขาเตี้ยอาจจะเหมาะสม โดยเฉพาะในช่วงปลายคันเบ็ด
จริงอยู่ที่คุณอาจจะต้องใช้ไกด์มากตัวขึ้นแต่ไกด์สมัยใหม่ก็มักจะมีน้ำหนักน้อยและค่อนข้างเพรียวลมจึงไม่น่าจะส่งผลทางลบให้คันเบ็ดมากนัก สำหรับคันเบ็ดที่มีลำหักลำโค่น เช่น คันทรอลลิ่ง ไกด์ชนิดขาสูงอาจจะเหมาะกว่าเพราะจะทำให้สามารถลดจำนวนไกด์ลงได้ ต้องไม่ลืมว่าไกด์สำหรับงานหนักแต่ละตัวจะมีน้ำหนักพอสมควร ดังนั้นการที่สามารถใช้ไกด์น้อยตัวได้ก็จะช่วยลดน้ำหนักรวมของคันเบ็ดลงได้และในคันเบ็ดขนาดใหญ่ โอกาสที่จะเกิดการบิดตัวทางข้างก็มีน้อย
– อ่านต่อฉบับหน้า –
Credit : Tui A.D